วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

กฎกติกาการเล่นเทควันโด


ประวัติ กฎกติกา กีฬาเทควันโด

ประวัติ

แต่เดิมสมาคมเทควันโดแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้ดำเนินการสนับสนุนให้เทควันโดแพร่หลายไปทั่วโลก มีการจัดตั้งสมาคมเทควันโดขึ้นในประเทศต่างๆ มีการพัฒนารูปแบบการฝึกออกไปมากมายทำให้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันจนกระทั่ง
           พ.ศ. 2515 ก่อตั้งสหพันธ์เทควันโด ( The World Taekwondo Federation : WTF) ที่ทำการใหญ่อยู่ที่สำนักคุกคิวอน กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประธานสหพันธ์คนแรก คือ ดร. ยุน ยอง คิม
           พ.ศ. 2516 การแข่งขันกีฬาเทควันโดโลกครั้งแรก และจัดเป็นประจำทุกๆ 2 ปี
           พ.ศ. 2529 บรรจุกีฬาเทควันโดในเอเชี่ยนเกมส์
           พ.ศ. 2531 บรรจุกีฬาเทควันโดในกีฬาโอลิมปิก
           พ.ศ. 2510 เปิดสอนเทควันโดในประเทศไทยที่วายเอ็มซีเอ ราชกรีฑาสโมสรกรุงเทพฯ ในฐานทัพทหารสหรัฐอเมริกาที่ตาคลี นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานีและสัตหีบ
           พ.ศ. 2516 เปิดสอนเทควันโดที่ราชกรีฑาสโมสร
           พ.ศ. 2519 เปิดสำนักขึ้นที่โรงเรียนศิลปป้องกันตัวอาภัสสา ถนนเพลินจิต
           พ.ศ. 2521 ก่อตั้งสมาคมส่งเสริมศิลปป้องกันตัวเทควันโด ณ โรงเรียนอาภัสสา โดยมีนายสรยุทธ ปัทมินทร์วิโรจน์ เป็นนายกสมาคมฯคนแรก ต่อมาสมาคมฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย

กฎกติกา


วิธีการการให้คะแนน
เพราะเทควันโดเป็นกีฬาที่มีความรุนแรงสูง จึงมีการแบ่งการแข่งขันเป็นช่วงละ 3 นาที สามช่วง และมีการพักหนึ่งนาทีในแต่ละช่วง คะแนนอาจมีการเพิ่มหรือลด และผลคะแนนที่ได้ในสามช่วงนั้นจะสะสมกันจนถึงช่วงสุดท้ายของการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะ ในกรณีที่ต้องมีการต่อเวลาผู้ชนะคือผู้ที่ได้รับคะแนนในเชิงบวกมากที่สุด ถ้ายังหาผู้ชนะไม่ได้อีกการตัดสินจะอยู่ในดุลยพินิจของกรรมการผู้ซึ่งจะเลือกผู้ที่แสดงการโจมตีที่ดีที่สุดในระหว่างการแข่งขัน

การคำนวณคะแนน
คะแนนที่ได้รับ (+2 คะแนน) > การใช้เท้า - ถีบคู่ต่อสู้อย่างรุนแรงเข้าที่หน้า

คะแนนที่ได้รับ (+2 คะแนน) > การใช้หมัด - เมื่อต่อยเข้าเป้าที่จะแจ้งในบริเวณสีน้ำเงินหรือสีแดงของชุดป้องกันที่ร่างกาย ความจะแจ้งคือคู่ต่อสู้ออกอาการจากแรงหมัดหรือมีเสียงดังสนั่น

การใช้เท้า - เมื่อมีการเตะที่จะแจ้งไปยังบริเวณสีน้ำเงินหรือสีแดงบนหัวหรือร่างกายของชุดป้องกัน


การเตือน (-0.5 คะแนน)
1) การทำผิดกติกา 
        -   การรวบคู่ต่อสู้ 
        -   การเข้าปล้ำคู่ต่อสู้ 
        -   การผลักคู่ต่อสู้ 
        -   การใช้ร่างกายสัมผัสคู่ต่อสู้ 

        2) การแสดงอาการขลาดกลัว 
        -   การออกนอกเส้นเพื่อหลบการโจมตี 
        -   หันหลังให้คู่ต่อสู้เมื่อหลบการโจมตี 
        -   การล้มตัวลงเพื่อหลบหลีก 
        -   แกล้งทำเป็นเจ็บ 
        
        3) การโจมตีผิดกติกา 
        -   การสัมผัสเป้าหมายบริเวณเข่าหรือหน้าผาก 
        -   การเตะเข้าที่หว่างขาโดยเจตนา 
        -   กายย่ำบริเวณแข้ง คาง เข่า และอื่นๆ ของคู่ต่อสู้ที่ล้มลง 
        -   การใช้มือตบหน้า 

        4) มารยาททราม 
        -   เมื่อผู้แข่งขันหรือผู้ฝีกสอนโต้เถียงในเรื่องคะแนน 
        -   มารยาททรามของผู้ฝึกสอนหรือผู้แข่งขัน 
        -   เมื่อผู้ฝึกสอนลุกจากที่นั่ง 


การตัดคะแนน (- 1 คะแนน)
1) การทำผิดกติกา 
        -   การใช้มือจับตัวคู่ต่อสู้กดให้ล้มลง 
        -   การจับขาคู่ต่อสู้ขณะเตะเพื่อให้ล้มลง 

        2) การแสดงความขลาด 
        -   ออกนอกพื้นที่การแข่งขันเพื่อหลบการโจมตี 
        -   ตั้งใจจะให้การแข่งขันดำเนินต่อไปด้วยยาก 

        3) การโจมตีที่ผิดกติกา 
        -   การโจมตีคู่ต่อสู้ที่ล้มลงแล้ว 
        -   การโจมตีคู่แข่งขันหลังจากกรรมการสั่งแยก 
        -   การโจมตีที่หลังศีรษะหรือที่หลังโดยจงใจ 

        4) มารยาททราม 
        - การกระทำที่ทรามสุดๆของผู้ฝึกสอนหรือผู้แข่งขัน 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น