วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

กีฬาฟันดาบ

ประวัติฟันดาบในประเทศไทย
    
                การฟันดาบในประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2478 แต่ไม่ได้ดำเนินการมาโดยต่อเนื่อง จนถึงปี พ.ศ. 2508 กีฬาฟันดาบจึงได้รับความสนใจจากประชาชนแต่เป็นเพียงส่วนน้อย และค่อยๆ ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ สมาคมนักฟันดาบสมัครเล่นฯจึงได้เกิดขึ้น และได้แพร่หลายไปในต่างประเทศ
    ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2513 กีฬาฟันดาบได้ประสบความสำเร็จและแพร่หลายแต่ก็ยังอยู่ในเมืองหลวง เพราะส่วนในภูมิภาคนั้นประชาชนยังให้ความนิยมกันน้อย
    องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นการกีฬาแห่งประเทศไทย) ได้เริ่มให้การสนับสนุนเกี่ยวกับด้านต่างๆ ทำให้เยาวชนเริ่มสนใจในการฟันดาบ ภายหลังที่สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ตั้งขึ้นมาและสมาคมฯเริ่มนำกิจกรรมฟันดาบเข้าไปสู่มหาวิทยาลัย รวมทั้งสถาบันการศึกษาของทหาร ด้วยเหตุนี้เองกีฬาฟันดาบจึงเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
    ในที่สุดการพัฒนากีฬาฟันดาบก็เริ่มเข้าสู้มาตรฐาน การคัดเลือกนักกีฬาเป็นไปอย่างกว้างขวาง แม้จะมีนักกีฬาฟันดาบฝีมือดีเพียงเล็กน้อยก็ตาม ครั้งแรกที่นักกีฬาไทยเข้าร่วมการแข่งขันกับนานาชาติคือการเข้าร่วมการแข่งขันในเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 7 ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ต่อจากนั้นจึงได้เข้าร่วมในการแข่งขันระหว่างประเทศเรื่อยมา และประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
    กีฬาฟันดาบถือได้ว่าเป็นกีฬาสมัยใหม่ที่สุด เพราะมีการพัฒนาที่เป็นวิวัฒนาการตามธรรมชาติ ผู้ที่เล่นกีฬานี้ยังคงพัฒนาตามวิวัฒนาการ เพราะจะยึดถือแบบอย่างเดิมอีกต่อไปไม่ได้ จำเป็นต้องมีแนวความคิดหรือหลักนิยมใหม่ที่เหมาะสมในการที่จะบรรลุความสำเร็จ ฟันดาบเป็นกีฬาที่มีค่านิยมน้อย แต่มีคุณธรรมสูง ซึ่งความนิยมอาจถึงจุดอิ่มตัว แต่คุณธรรมไม่รู้จักอิ่มตัวและย่อมแสวงหาให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น
    สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้จดทะเบียนก่อตั้งสมาคมฯและสหพันธ์สมาชิกของโอลิมปิก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2510 และเป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาระหว่างชาติ เมื่อ 19 มกราคม พ.ศ. 2511 และเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟันดาบแห่งเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2516

อุปกรณ์ฟันดาบ
สนามที่ใช้แข่งขัน
    สนามที่ใช้แข่งขันจะต้องเป็นพื้นราบ อาจจะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ พื้นสนามอาจปูด้วยไม้แผ่นยาง พลาสติกหรือแผ่นโลหะ โดยจะต้องมีความกว้างเท่ากันตลอด ความยาวของพื้นแข่งขันจะขึ้นอยู่กับประเภทของการแข่งขัน แต่อย่างน้อยจะต้องยาว 13 เมตร

การแต่งกาย    ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมชุดที่ทำจากผ้าเนื้อเหนียวสีขาว ซึ่งจะต้องไม่เรียบลื่นจนปลายดาบลื่นไถลเมื่อแตะถูก ต้องสวมเครื่องป้องกันภายใน ( Plastron ) และสวมหน้ากาก ถุงมือ ซึ่งต้องบุตรงฝ่ามือเล็กน้อยและยาวเกินศอก เสื้อคอตั้ง อาจไม่จำเป็นที่จะต้องยาวเต็มตัว แต่ต้องป้องกันส่วนใต้แขนได้ และต้องสวมเสื้อเกราะหรือโลหะในการแข่งขันประเภทดาบฟอยล์และเอเป้ ส่วนในประเถทดาบฟอยล์หญิง จะต้องมีเครื่องป้องกันทรวงอกอยู่ข้างในเสื้อเกราะด้วย

ชนิดของดาบ
    กีฬาฟันดาบเป็นกีฬาที่พัฒนามาจากการใช้ดาบในการต่อสู้ของคนสมัยโบราณ ชาติที่มีชื่อเสียงในกีฬาฟันดาบ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี โรมาเนีย เป็นต้น ดาบที่ใช้ในการแข่งขันแบ่งออกเป็น ชนิดคือ ดาบฟอยล์ ( The Foil ) ดาบเอเป้ ( The Epee ) และดาบซาเบอร์ ( The Sabre )

    1. ดาบฟอยล์ ต้องหนักไม่เกิน 200 กรัม ส่วนที่เป็นใบต้องมีความยืดหยุ่นประมาณ 5.5 - 9.5 เซนติเมตร ถ้าแขวนของหนัก 200 กรัม ที่กระบังดาบ และใบดาบจะต้องคงตัวไม่ยืดหยุ่นจากปลายดาบ 70 เซนติเมตร สำหรับดาบฟอยล์ไฟฟ้า แสงไฟจะปรากฎเมื่อมีแรงกดที่ปลายดาบมากกว่า 500 กรัม
    2. ดาบเอเป้ หรือดาบดวลต้องหนักไม่เกิน 700 กรัม ใบดาบต้องเหยียดตรงให้มากที่สุด มีความยืดหยุ่นตัวประมาณ 4.5 - 7 เซนติเมตร ( วิธีวัดเช่นเดียวกับดาบฟอยล์ ) สำหรับดาบเอเป้ไฟฟ้า การฟันจะต้องใช้แรงกดที่ปลายดาบมากกว่า 750 กรัมแสงไฟจึงจะปรากฎ
    3. ดาบซาเบอร์ ต้องหนักไม่เกิน 500 กรัม ใบดาบต้องไม่ยืดหยุ่นหรือตึงจนเกินไป ถ้ามีรอยโค้งต้องโค้งตลอดแนวน้อยกว่า 4 เซนติเมตร และต้องไม่โค้งในทิศทางเดียวกับสันดาบข้างที่ใช้ฟัน

อุปกรณ์แจ้งคะแนนไฟฟ้า    ในการแข่งขันประเภทดาบฟอยล์และเอเป้ อาจจะใช้อุปกรณ์แจ้งคะแนนไฟฟ้า โดยใช้ผู้เข้าแข่งขันสวมอุปกรณ์ซึ่งเมื่อฟันถูกเป้าหมายจะมีแสงสว่างเกิดขึ้น โดยในประเภทดาบฟอยล์ กรรมการต้องพิจารณาลักษณะการแทงก่อนให้คะแนน แต่ประเภทเอเป้ไม่ต้องใช้แสงไฟเป็นเครื่องตัดสิน และในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ฝ่ายแทงเป้าหมายห่างกันในเวลา 1/25 วินาที จะถือว่าได้คะแนนทั้ง 2 ฝ่าย แต่สำหรับในประเภทฟอยล์และซาเบอร์ การแทงในลักษณะเดียวกันจะถือว่าเป็นโมฆะ หรืออาจถือว่าผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งต่อสู้ไม่เป็นจังหวะ ประธานกรรมการจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายโจมตีแล้วให้คะแนนแก่ฝ่ายรับ


กติกาฟันดาบ
การเริ่มต้นการแข่งขัน    ผู้แข่งขันทั้ง 2 ฝ่ายจะยืนหันข้างให้กับประธานการแข่งขัน โดยทั้งคู่จะยืนห่างจากเส้นแบ่งแดน 2 เมตรประธานกรรมการจะขานเตรียมพร้อม เมื่อผู้เข้าแข่งขันเตรียมพร้อมแล้วจะขานเริ่มแข่ง


ประธานการแข่งขันจะขานหยุด เพื่อหยุดชะงักการแข่งขัน เมื่อ
    1. มีการใช้ท่าอันตราย
    2. ผู้เข้าแข่งขันไม่มีเครื่องป้องกัน
    3. ผู้เข้าแข่งขันออกนอกพื้นที่เข้าแข่งขัน
    * ถ้าการแทงก่อนการหยุดชะงักเป็นการแทงที่ได้ผล ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ฝ่าย จะมายืนอยู่หลังเส้นป้องกัน แต่ถ้าเป็นการแทงที่ไม่ได้ผล จะเริ่มเล่นตรงจุดที่เกิดการชะงัก
    * การฟันก่อนที่ประธานจะกล่าวขานว่าเริ่มเล่น หรือจากขานว่าหยุด จะถือเป็นโมฆะ
    * ในการแข่งขันประเภทดาบฟอยล์และซาเบอร์โดยไม่ใช้อุปกรณ์แจ้งไฟฟ้า ผู้เข้าแข่งขันจะเปลี่ยนแดนกันเมื่อฝ่ายหนึ่งได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

เจ้าหน้าที่ประกอบด้วย    1. ประธานการแข่งขันทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน
    2. กรรมการให้คะแนน 4 คน ถ้าใช้อุปกรณ์แจ้งคะแนนไฟฟ้า จะใช้กรรมการให้คะแนน 2 คน
    3. กรรมการบันทึกคะแนน
    4. กรรมรักษาเวลา

ระยะเวลาการแข่งขัน    สำหรับประเภทชายใช้การแข่งขัน 6 นาที ผู้ชนะคือผู้ทำได้ 5 คะแนนก่อน ส่วนดาบฟอยล์หญิงใช้เวลาแข่งขัน 5 นาที ผู้ชนะคือผู้ที่ได้ 4 คะแนนก่อน ถ้าจบการแข่งขันแล้วได้คะแนนเท่ากัน ประเภทดาบฟอยล์และดาบซาเบอร์จะทำการแข่งขันกันต่ออีกหนึ่งรอบ ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ส่วนประเภทเอเป้จะปรับแพ้ทั้งคู่

การให้คะแนน    คะแนนที่ได้จากการฟัน ( Hit ) ผู้เข้าแข่งขันจะต้องฟันคู่ต่อสู้ตรงเป้าหมายด้วยปลายดาบ ในประเภทดาบซาเบอร์การฟันถูกริมหรือบนสามส่วนแรกของขอบหลังของเป้าก็ถือว่าได้คะแนน ในขณะที่ฟัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในพื้นที่เข้าแข่งขันเท่านั้นจึงจะได้คะแนน การแทงที่ออกนอกเป้าสำหรับดาบฟอยล์และดาบซาเบอร์จะนับว่าได้คะแนนถ้าผู้เข้าแข่งขันที่ถูกแทงเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อหลบหนีการถูกแทงตรงเป้าหมาย การแทงที่พลาดเป้าหมายจะทำให้จังหวะการแทงยุติลง

การฟันที่ได้คะแนน
    ประธานกรรมการจะป็นผู้ตัดสินการได้คะแนนจากการฟัน หรือลงโทษเนื่องจากทำผิดกติกา โดยกรรมการให้คะแนนจะใช้การยกมือเป็นสัญญาณเพื่อแจ้งต่อประธานกรรมการเมื่อมีการฟันที่ได้คะแนน ซึ่งการฟันจะต้องมีความแม่นยำและจังหวะดีจึงจะได้คะแนน

การโจมตีและป้องกัน    ในการแข่งขันประเภทดาบฟอยล์และซาเบอร์ การแทงที่จะได้คะแนนจะเกิดจากการเคลื่อนที่ที่ถูกต้อง และมีจังหวะที่ดีของผู้เข้าแข่งขัน โดยทั่วไปเมื่อถูกโจมตีฝ่ายรับจะต้องก้าวถอยหลังก่อนที่จะแทงตอบ ฝ่ายรุกคือผู้เข้าแข่งขันที่เหยียดแขนข้างที่ถือดาบฟันที่เป้าหมาย และยังเป็นฝ่ายรุกจนเมื่อฝ่ายรับถอยหลังตลอด ในกรณีของการโจมตีหลายจังหวะฝ่ายรับอาจจะฟันเพื่อให้ฝ่ายรุกหยุด โดยฟันตามจังหวะเมื่อถูกโจมตี คอยหันข้างย่อตัว ตั้งหลักก้าวรุก หรือใช้ทักษะผสมในการตอบโต้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของการเคลื่อนที่ รวมทั้งจังหวะและความยากของการโจมตี ส่วนการแข่งขันประเภทดาบเอเป้ การฟันจะไม่มีจังหวะและไม่มีลำดับของการเคลื่อนที่นอกจากนี้ในการแข่งขันทุกประเภทอนุญาตให้เข้าโจมตีด้วยวิธีการก้าววิ่งได้


การทำผิดกติกาและการกำหนดคะแนนโทษ    1. การต่อสู้ประชิดตัวอนุญาตให้ทำได้ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันถือและใช้อาวุธได้อย่างถูกต้อง
    2. การปะทะตัวกันสำหรับการแข่งขันประเภทฟอยล์และซาเบอร์ จะใช้การเตือนเป็นการลงโทษครั้งแรก หลังจากนั้นถ้ากระทำผิดอีกจะถูกปรับเป็นถูกแทง 1 ครั้ง ส่วนประเภทดาบเอเป้ การปะทะตัวกระทำได้เมื่อไม่เจตนาและไม่รุนแรง
    3. อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันก้มตัวต่ำและหมุนตัวได้
    4. มือที่ไม่มีอาวุธอาจแตะถูกพื้นสนามได้ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันแตะถูกตัวกัน ประธานกรรมการอาจสั่งหยุด และให้จัดตำแหน่งใหม่
    5. การฟันในจังหวะที่สวนกันถือว่าไม่ผิดกติกา แต่ถ้าหลังจากการที่สวนผ่านไปแล้วจะไม่นับคะแนน
    6. การข้ามเขตแดนทำได้โดยประเภทดาบฟอยล์ต้องไม่เกิน 1 เมตรและไม่เกิน 2 เมตร สำหรับประเภทดาบเอเป้และซาเบอร์
    7. การฟันนอกพื้นที่แข่งขันไม่นับคะแนน
    8. การข้ามเขตแดนด้านข้างเพื่อหลบการฟัน จะถูกลงโทษเป็นการถูกแทง 1 ครั้ง ถ้าถูกเตือนมาก่อนแล้ว รวมทั้งการข้ามเขต หลังด้วย
    9. การถ่วงเวลาการแข่งขันจะถูกเตือนและปรับเป็นถูกฟัน 1 ครั้ง
    10. การฟันที่ไม่ถูกต้อง รุนแรง และไม่เหมาะสมจะถูกลงโทษโดยการเตือน
    11. การไม่เชื่อฟังกรรมการครั้งแรกจะถูกเตือน ครั้งที่สองจะถูกปรับเป็นถูกฟัน 1 ครั้ง และถูกไล่ออกจากการ แข่งขันสำหรับครั้งที่สาม
    12. อาวุธต้องถือด้วยมือข้างใดข้างหนึ่ง การเปลี่ยนมือถืออาวุธจะต้องขออนุญาตจากกรรมการก่อน
    13. ผู้เข้าแข่งขันจะขว้างอาวุธไม่ได้ และมือจะต้องจับด้ามดาบเสมอ
    14. ห้ามไม่ให้ใช้มือข้างที่ไม่ได้ถือดาบ เพื่อเป็นการป้องกันหรือโจมตี
    15. การฟันที่ไม่ใช้มือข้างที่ถืออาวุธถือเป็นโมฆะ
    16. การจงใจหรือเจตนาทำผิดกติกาอาจถูกคะแนนได้


กฎกติกาการเล่นเทควันโด


ประวัติ กฎกติกา กีฬาเทควันโด

ประวัติ

แต่เดิมสมาคมเทควันโดแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้ดำเนินการสนับสนุนให้เทควันโดแพร่หลายไปทั่วโลก มีการจัดตั้งสมาคมเทควันโดขึ้นในประเทศต่างๆ มีการพัฒนารูปแบบการฝึกออกไปมากมายทำให้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันจนกระทั่ง
           พ.ศ. 2515 ก่อตั้งสหพันธ์เทควันโด ( The World Taekwondo Federation : WTF) ที่ทำการใหญ่อยู่ที่สำนักคุกคิวอน กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประธานสหพันธ์คนแรก คือ ดร. ยุน ยอง คิม
           พ.ศ. 2516 การแข่งขันกีฬาเทควันโดโลกครั้งแรก และจัดเป็นประจำทุกๆ 2 ปี
           พ.ศ. 2529 บรรจุกีฬาเทควันโดในเอเชี่ยนเกมส์
           พ.ศ. 2531 บรรจุกีฬาเทควันโดในกีฬาโอลิมปิก
           พ.ศ. 2510 เปิดสอนเทควันโดในประเทศไทยที่วายเอ็มซีเอ ราชกรีฑาสโมสรกรุงเทพฯ ในฐานทัพทหารสหรัฐอเมริกาที่ตาคลี นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานีและสัตหีบ
           พ.ศ. 2516 เปิดสอนเทควันโดที่ราชกรีฑาสโมสร
           พ.ศ. 2519 เปิดสำนักขึ้นที่โรงเรียนศิลปป้องกันตัวอาภัสสา ถนนเพลินจิต
           พ.ศ. 2521 ก่อตั้งสมาคมส่งเสริมศิลปป้องกันตัวเทควันโด ณ โรงเรียนอาภัสสา โดยมีนายสรยุทธ ปัทมินทร์วิโรจน์ เป็นนายกสมาคมฯคนแรก ต่อมาสมาคมฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย

กฎกติกา


วิธีการการให้คะแนน
เพราะเทควันโดเป็นกีฬาที่มีความรุนแรงสูง จึงมีการแบ่งการแข่งขันเป็นช่วงละ 3 นาที สามช่วง และมีการพักหนึ่งนาทีในแต่ละช่วง คะแนนอาจมีการเพิ่มหรือลด และผลคะแนนที่ได้ในสามช่วงนั้นจะสะสมกันจนถึงช่วงสุดท้ายของการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะ ในกรณีที่ต้องมีการต่อเวลาผู้ชนะคือผู้ที่ได้รับคะแนนในเชิงบวกมากที่สุด ถ้ายังหาผู้ชนะไม่ได้อีกการตัดสินจะอยู่ในดุลยพินิจของกรรมการผู้ซึ่งจะเลือกผู้ที่แสดงการโจมตีที่ดีที่สุดในระหว่างการแข่งขัน

การคำนวณคะแนน
คะแนนที่ได้รับ (+2 คะแนน) > การใช้เท้า - ถีบคู่ต่อสู้อย่างรุนแรงเข้าที่หน้า

คะแนนที่ได้รับ (+2 คะแนน) > การใช้หมัด - เมื่อต่อยเข้าเป้าที่จะแจ้งในบริเวณสีน้ำเงินหรือสีแดงของชุดป้องกันที่ร่างกาย ความจะแจ้งคือคู่ต่อสู้ออกอาการจากแรงหมัดหรือมีเสียงดังสนั่น

การใช้เท้า - เมื่อมีการเตะที่จะแจ้งไปยังบริเวณสีน้ำเงินหรือสีแดงบนหัวหรือร่างกายของชุดป้องกัน


การเตือน (-0.5 คะแนน)
1) การทำผิดกติกา 
        -   การรวบคู่ต่อสู้ 
        -   การเข้าปล้ำคู่ต่อสู้ 
        -   การผลักคู่ต่อสู้ 
        -   การใช้ร่างกายสัมผัสคู่ต่อสู้ 

        2) การแสดงอาการขลาดกลัว 
        -   การออกนอกเส้นเพื่อหลบการโจมตี 
        -   หันหลังให้คู่ต่อสู้เมื่อหลบการโจมตี 
        -   การล้มตัวลงเพื่อหลบหลีก 
        -   แกล้งทำเป็นเจ็บ 
        
        3) การโจมตีผิดกติกา 
        -   การสัมผัสเป้าหมายบริเวณเข่าหรือหน้าผาก 
        -   การเตะเข้าที่หว่างขาโดยเจตนา 
        -   กายย่ำบริเวณแข้ง คาง เข่า และอื่นๆ ของคู่ต่อสู้ที่ล้มลง 
        -   การใช้มือตบหน้า 

        4) มารยาททราม 
        -   เมื่อผู้แข่งขันหรือผู้ฝีกสอนโต้เถียงในเรื่องคะแนน 
        -   มารยาททรามของผู้ฝึกสอนหรือผู้แข่งขัน 
        -   เมื่อผู้ฝึกสอนลุกจากที่นั่ง 


การตัดคะแนน (- 1 คะแนน)
1) การทำผิดกติกา 
        -   การใช้มือจับตัวคู่ต่อสู้กดให้ล้มลง 
        -   การจับขาคู่ต่อสู้ขณะเตะเพื่อให้ล้มลง 

        2) การแสดงความขลาด 
        -   ออกนอกพื้นที่การแข่งขันเพื่อหลบการโจมตี 
        -   ตั้งใจจะให้การแข่งขันดำเนินต่อไปด้วยยาก 

        3) การโจมตีที่ผิดกติกา 
        -   การโจมตีคู่ต่อสู้ที่ล้มลงแล้ว 
        -   การโจมตีคู่แข่งขันหลังจากกรรมการสั่งแยก 
        -   การโจมตีที่หลังศีรษะหรือที่หลังโดยจงใจ 

        4) มารยาททราม 
        - การกระทำที่ทรามสุดๆของผู้ฝึกสอนหรือผู้แข่งขัน 



วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

กฎกติกาการเล่นแชร์บอล






ประวัติกีฬาแชร์บอล


ตั้งแต่อดีตนั้น กีฬาแชร์บอลเป็นเกมกีฬาที่มุ่งเน้นการปลูกฝังหรือเป็นการปูพื้นฐานการเล่นกีฬาจำพวก บาสเกตบอล แฮนด์บอล หรือกีฬาประเภทอื่นๆ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการเคลื่อนไหว รวมถึงทักษะการฝึกฝนเบื้องต้น ด้านต่างๆเพื่อเป็นการฝึกความพร้อมของร่างกายและจิตใจ

ส่วนระเบียบการเล่นหรือกติกาในตอนแรกยังไม่มีระบุขึ้นมาตายตัว เพียงแต่ยึดถือกติกาบาสเกตบอลในบางส่วนมาใช้ โดยการอนุโลมให้เหมาะสมเท่านั้น จากหลักฐานที่ปรากฏผู้ที่คิดค้นกีฬาแชร์บอลขึ้นมาเล่นคือ พันเอก มงคล พรหมสาขา ณ สกลนคร และได้มีการพัฒนาอย่างแพร่หลาย ตลอดจนมีการแข่งขันในหลายระดับ ทั้งในหมู่นักเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการต่างๆ

แชร์บอลเป็นกีฬาที่เล่นง่าย เพราะไม่จำกัดเพศของผู้เล่น คืออาจจะเล่นรวมทั้งชายและหญิงผสมกัน และสถานที่ สามารถเล่นได้กับทุกสนามไม่ว่าจะเป็น สนามหญ้า พื้นดิน พื้นซีเมนต์ พื้นไม้ ฯลฯ

ลูกบอลที่ใช้จะใช้ลูกเนตบอล หรือลูกวอลเลย์บอล ถ้าไม่มีก็ใช้วัสดุอื่นแทนได้ เช่น ม้วนผ้าเป็นลักษณะกลมๆ ก็สามารถเล่นได้ ส่วนภาชนะที่ใช่รับลูกบอลนอกจากตะกร้ายังสามารถใช้อย่างอื่นที่ใส่ลูกได้

จุดประสงค์ของกีฬาแชร์บอลคือ ผู้เล่นแต่ละฝ่ายช่วยกันรับส่งลูกบอลให้ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันนำลูกบอลผ่านฝ่ายตรงข้ามโยนลงไปในตะกร้าของฝ่ายตนเองที่ยืนรอรับอยู่ข้างหน้า(ด้านหลังของฝ่ายตรงข้าม)
โดยโยนให้เข้าตะกร้าให้มากที่สุดและในทางตรงกันข้ามอีกฝ่ายก็จะต้องป้องกันไม่ให้ลูกบอลส่งข้ามไปเข้าตะกร้าเช่นกัน
กติกาการแข่งขัน

กติกาข้อ 1 สนามแข่งขัน
1.1 สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 16 เมตร (เส้นหลัง) ยาว 32 เมตร (เส้นข้าง) สนามแบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยเส้นแบ่งแดน ขนาดสนามนี้จะเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยมีบริเวณเขตรอบสนามอย่างน้อย 1 เมตร ถ้าเป็นสนามในร่มความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปไม่ควรน้อยกว่า 6 เมตร
1.2 วงกลมกลางสนาม ที่จุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน ให้เขียนวงกลมรัศมี 1.80 เมตร
1.3 เขตผู้ป้องกันตะกร้า ที่จุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้งสองด้าน เขียนครึ่งวงกลม รัศมี 3.00 เมตร ในสนามเล่น เขตนี้เรียกว่า เขตผู้ป้องกันตะกร้า
1.4 เส้นโทษ ถัดจากจุดกึ่งกลางเส้นหลังเข้าไปในสนาม 8.00 เมตร ลากเส้นให้ขนานกับเส้นหลังยาว 50 เซนติเมตร (โดยลากให้กึ่งกลางของเส้นอยู่ที่กึ่งกลางของความกว้าง)
1.5 เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร (สีขาว) และเป็นส่วนหนึ่งของเขตนั้น

กติกาข้อ 2 อุปกรณ์การแข่งขัน
2.1 เก้าอี้ เป็นเก้าอี้ชนิด 4 ขา มีความแข็งแรงมั่นคง ไม่มีพนักพิง สูง 35-40 เซนติเมตร ขนาดของที่นั่ง กว้าง 30-35 เซนติเมตร หรือเป็นเก้าอี้ที่มีขนาดใกล้เคียงและเป็นชนิดเดียวกันทั้งสองตัว เก้าอี้นี้วางไว้ที่จุดกึ่งกลางของเส้นหลัง โดยให้ขาหน้าของเก้าอี้ทั้งสองขาวางอยู่บนเส้นสนาม
2.2 ตะกร้า ขนาดสูง 30-35 เซนติเมตร ปากตะกร้าเป็นรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-35 เซนติเมตร ทำด้วยหวายที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่น หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่เกิดอันตราย มีน้ำหนักเบาเท่ากัน
2.3 ลูกบอล ใช้ลูกแชร์บอล หรือลูกฟุตบอลขนาดเบอร์ 4-5 หรือลูกที่ฝ่ายจัดการแข่งขันรับรอง ซึ่งฝ่ายจัดการแข่งขัน จะต้องแจ้งให้ผู้แข่งขันทราบก่อนในระเบียบการแข่งขัน
2.4 นาฬิกาจับเวลา 2 เรือน ใช้สำหรับจับเวลานอก และเวลาแข่งขัน
2.5 ใบบันทึกการเข่งขัน
2.6 ป้ายคะแนน
2.7 สัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน (นกหวีด ระฆัง กริ่ง ฯลฯ)
2.8 ป้ายบอกจำนวนครั้งของการฟาวล์ (ถ้ามี)

กติกาข้อ 3 เวลาการแข่งขัน
3.1 เวลาการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที พักระหว่างครึ่ง 5 นาที (เวลาการแข่งขันนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมกับนักกีฬา โดยต้องแจ้งไว้ในระเบียบการแข่งขันก่อน)
3.2 เวลาการแข่งขันเริ่มขึ้นเมื่อ ผู้ตัดสินได้โยนลูกบอลขึ้นระหว่างผู้เล่นสองคนของแต่ละฝ่ายที่อยู่ในวงกลม และลูกบอลได้ถูกผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้ว
3.3 เมื่อเริ่มแข่งขันครึ่งเวลาหลัง และเวลาเพิ่มพิเศษแต่ละช่วงให้เปลี่ยนแดนกัน
3.4 เวลานอก ให้แต่ละทีมขอเวลานอกได้ครึ่งเวลาละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที
3.5 การต่อเวลาการแข่งขัน เมื่อผลการแข่งขันเสมอกัน ให้ต่อเวลาเพิ่มพิเศษอีกช่วงละ 5 นาที จนกว่าจะมีผลแพ้ชนะกันหรือจะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น
3.6 การขอเวลานอกในเวลาเพิ่มพิเศษ ให้ขอเวลานอกได้ช่วงละ 1 ครั้ง
3.7 ชุดใดที่มาแข่งขันช้ากว่ากำหนดเวลาการแข่งขัน 15 นาทีให้ปรับเป็นแพ้

กติกาข้อ 4 ผู้เล่น
4.1 ชุดหนึ่งประกอบไปด้วยผู้เล่น 12 คน เป็นผู้เล่นในสนาม 7 คน ผู้เล่นสำรอง 5 คน ผู้เล่นสำรองและเจ้าหน้าที่ประจำทีม ต้องนั่งที่ที่คณะกรรมการจัดไว้ให้
4.2 เมื่อเริ่มทำการแข่งขัน ต้องมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละ 7 คนและในระหว่างการแข่งขันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีผู้เล่นน้อยกว่า 5 คน ให้ปรับแพ้
4.3 ผู้เล่นสำรองจะเข้าเล่นได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินและต้องทำการเปลี่ยนตัวที่บริเวณเส้นแบ่งแดนด้านเดียวกับโต๊ะเจ้าที่จัดการแข่งขัน (เขตเปลี่ยนตัว)
4.4 ผู้เล่นแต่ละชุดต้องสวมเสื้อที่มี่สีเดียวกัน และติดหมายเลขที่ด้านหน้า ขนาดสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ที่ด้านหลังขนาดสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ใช้หมายเลข 1 – 12 สีของหมายเลขต้องแตกต่างจากสีเสื้ออย่างชัดเจน
4.5 ห้ามผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น

กติกาข้อ 5 ผู้ป้องกันตะกร้า
5.1 ผู้ป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่มีสิทธิ์เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าได้
5.2 ผู้ป้องกันตะกร้าสามารถเคลื่อนที่ไปในเขตป้องกันตะกร้าพร้อมกับลูกบอลได้ โดยปราศจากข้อจำกัด ภายในเวลา 3 วินาที
5.3 ผู้ป้องกันตะกร้าสามารคออกมาร่วมเล่นในสนามเล่นได้แต่ต้องปฏิบัติตนเหมือนผู้เล่นในสนามทั่ว ๆ ไป
5.4 การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ป้องกันตะกร้าโดยไม่แจ้งและละเมิดกติกาอย่างร้ายแรง ผู้ตัดสินจะให้ออกจากการแข่งขัน (ไล่ออก)

การทำผิดกติกาของผู้ป้องกันตะกร้า

5.5 ทำการป้องกันในลักษณะถูกต้องตัวและอุปกรณ์ (ตะกร้า) ของฝ่ายรุก
5.6 เจตนาทำให้ลูกบอลออกเส้นหลัง (ส่งเข้าเล่นที่มุมสนาม)
5.7 นำลูกบอลจากสนามเล่นเข้าไปในเขตป้องกันตะกร้า
5.8 ถูกลูกบอลที่อยู่ในสนามเล่นในขณะที่ลูกบอลวาง กลิ้งหรือลอยอยู่โดย 5.2 และ 5.3 ห้ามนำลูกบอลเข้าเขตป้องกัน
5.9 ขณะที่ลูกบอลกำลังลอยอยู่ในทิศทางของการยิงประตูเหนือตะกร้า ผู้ป้องกันตะกร้า เจตนาปัดตะกร้าถูกตัวผู้ถือตะกร้าให้เก้าอี้หรือส่วนอื่น ๆ ของเก้าอี้เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน (ถ้าลูกลงตะกร้าให้ได้คะแนน ถ้าลูกไม่ลงตะกร้าให้ยิงโทษและบันทึกการฟาล์ว)

กติกาข้อ 6 ผู้ถือตะกร้า
6.1 ต้องอยู่บนเก้าอี้พร้อมกับตะกร้า
6.2 ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมเล่นกับผู้เล่นในสนามขณะกำลังแข่งขัน (ส่งข้าง)
6.3 ห้ามใช้ตะกร้าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย กีดกันการป้องกันของผู้ป้องกันตะกร้า (ส่งข้าง)
6.4 สามารถเคลื่อนไหวตะกร้าได้ทุกลักษณะ
6.5 ผู้ถือตะกร้า ต้องใช้ตะกร้ารับลูกบอลจากการยิงประตูทุกลักษณะทิศทาง และต้องทรงตัวอยู่บนเก้าอี้ได้อย่างมั่นคง

กติกาข้อ 7 เขตผู้ป้องกันตะกร้า
7.1 เขตป้องกันตะกร้าเป็นพื้นที่ของป้องกันตะกร้าเพียงคนเดียวเท่านั้น
7.2 ผู้เล่นในสนามเข้าไปในเขตป้องกันตะกร้า จะถูกลงโทษดังนี้
7.2.1 ฝ่ายป้องกัน เข้าไปในขณะที่มีการยิงประตู ถ้าลูกบอลลงตะกร้าให้ได้คะแนน ถ้าลูกบอลไม่ลงตะกร้าให้ยิงลูกโทษ
7.2.2 ฝ่ายป้องกันเข้าไปในขณะที่ไม่มีการยิงประตู (ส่งข้าง)
7.2.3 ฝ่ายรุก เข้าไปในเขตป้องกันตะกร้าของฝ่ายตรงข้าม (ส่งข้าง)
7.3 ลูกบอลที่วาง หรือกลิ้งอยู่ในเขตป้อกันตะกร้าเป็นผู้ป้องกันตะกร้า และจะต้องเล่นอย่างทันที

กติกาข้อ 8 การเล่นลูกบอล
อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำ ดังนี้
8.1 จับ ตี ปัด กลิ้ง ส่ง หรือขว้างลูกบอลด้วยมือ แขน ศีรษะ หรือลำตัวบริเวณเหนือสะเอวขึ้นไป
8.2 ครอบครองลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือ หรือกดลูกบอลที่อยู่บนพื้นสนาม หรือโยนลูกบอลขึ้นในอากาศได้ภายในเวลาไม่เกิน 3 วินาที
8.3 ถือลูกบอลและเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยการหมุนตัวโดยมีเท้าหลัก
8.4 กระโดดรับ ส่ง หรือยิงประตู
8.5 ใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้ ในขณะที่กำลังครอบครองลูกบอลอยู่
ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นกระทำ ดังนี้
8.6 ห้ามเลี้ยงลูกบอล (ส่งข้าง) ยกเว้นกรณีการรับลูกไม่ได้ (FUMBLE) หรือการตัดลูกบอล
8.7 เจตนาพุ่งตัวลงเพื่อครอบครองลูกบอล (ส่งข้าง)
8.8 เล่นลูกบอลด้วยส่วนหนึ่งส่วนใด ตั้งแต่สะเอวลงไป (ส่งข้าง)
8.9 ยื่นลูกบอลให้เพื่อนร่วมทีมด้วยมือต่อมือ (บันทึกการฟาวล์)
8.10 ทำให้คู่ต่อสู้ได้รับอันตรายโดยใช้ลูกบอล (ยิงโทษ)
8.11 ทุบ ตบ ตี ลูกบอลจากมือคู่ต่อสู้ (ส่งข้าง)
8.12 กีดขวางคู่ต่อสู้ด้วยมือ แขน ขา หรือลำตัวในลักษณะที่เป็นอันตรายกับคู่ต่อสู้ (ขัดขวาง)
8.13 ดึง ดัน ผลัก ชก ชน เตะ คู่ต่อสู้ทุกลักษณะ (ส่งข้างหรือยิงโทษ หรือตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน)
8.14 ทำผิดกติกาอย่างร้ายแรงกับคู่ต่อสู้ (ยิงโทษ และตัดสิทธิ์ให้ออกจากการ

กติกาข้อ 9 การได้คะแนน
9.1 จะนับคะแนนเมื่อลูกบอลได้ลงตะกร้าจากการยิงประตูโดยตรง โดยผู้ถือตะกร้าต้องทรงตัวอยู่บนเก้าอี้อย่างมั่นคง และผู้ตัดสินในสนามได้ให้สัญญาณนกหวีดแล้ว
9.2 ผู้เล่นฝ่ายป้องกันพยายามป้องกันโดยผิดกติกา ถ้าลูกบอลลงตะกร้า ให้นับว่าได้คะแนน
9.3 ถ้าผู้จับ เวลาให้สัญญาณหมดเวลาการแข่งขันก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือผู้ยิงประตูถือว่าไม่ได้คะแนน
9.4 หลังจากลูกบอลลงตะกร้าจาการยิงประตูธรรมดาหรือหลังจากการยิงโทษได้ผล ผู้ป้องกันตะกร้าต้องนำลูกบอลส่งเข้าเล่นจากเขตป้องกันตะกร้า
9.5 คะแนนที่ได้จากการยิงประตู มีค่า 2 คะแนน คะแนนที่ได้จากการยิงโทษมีค่าครั้งละ 1 คะแนน
9.6 ฝ่ายที่ทำคะแนนได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะในการแข่งขัน

กติกาข้อ 10 การเริ่มเล่นและการโยนลูกกระโดด
10.1 การเริ่มเล่นในครึ่งเวลาแรก และครึ่งเวลาหลัง เวลาเพิ่มพิเศษ และการหยุดเล่นอื่น ๆ ที่ต้องทำลูกกระโดด จะเริ่มโดยผู้ตัดสินเป็นผู้โยนลูกกระโดดที่วงกลมกลางสนาม ระหว่างผู้กระโดด
10.2 ตัดสินเป็นผู้โยนลูกกระโดดขึ้นไปบนอากาศ ในแนวดิ่งระหว่างผู้กระโดดทั้งสองฝ่าย
10.3 ผู้เล่นอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้กระโดดต้องอยู่นอกวงกลม ณ ที่ใด ๆ ก็ได้ในเขตสนามแข่งขัน
10.4 จะโยนลูกกระโดดเมื่อ
10.4.1 เริ่มการแข่งขันครึ่งเวลาแรก ครึ่งเวลาหลังและเวลาเพิ่มพิเศษ
10.4.2 เมื่อมีการหยุดเล่นโดยที่ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดกติกา
10.4.3 เมื่อเกิดลูกยึดของผู้เล่นทั้งสองฝ่าย (ผู้ทำลูกยึดต้องมาเป็นผู้กระโดด)
10.4.4 เมื่อทั้งสองฝ่ายทำผิดกติกาพร้อมกัน ให้ฝ่ายที่ครอบครองบอลส่งบอลเข้าเล่นต่อ หลังจากบันทึกฟาวล์ทั้ง 2 คน
10.5 ผู้กระโดดต้องปัดลูกบอลในขณะที่ลูกบอลลอยอยู่ในจุดสูงสุดได้คนละไม่เกิน 2 ครั้ง จากนั้นผู้กระโดดจะถูกลูกบอลอีกไม่ได้ จนกว่าลูกบอลจะได้ถูกผู้เล่นคนอื่น ๆ

กติกาข้อ 11 การส่งลูกเข้าเล่นจากเส้นข้าง
11.1 จะส่งลูกเข้าเล่น เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นข้างหรือเส้นหลังและถูกพื้นที่นอกสนามแข่งขัน (ลุกลอยในอากาศยังไม่ถือว่าเป็นลูกออก)
11.2 ผู้เล่นฝ่ายรับทำลูกบอลออกเส้นหลัง ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามส่งลูกเข้าเล่นจากมุมสนามด้านที่ลูกบอลออก
11.3 ผู้เล่นฝ่ายรุกทำให้ลูกบอลออกเส้นหลัง ให้ฝ่ายตรงข้ามนำลูกมาส่งเข้าเล่นจากเส้นข้างมุมสนามด้านที่ลูกออก
11.4 ผู้ส่งลุกเข้าเล่นจะส่งด้วยวิธีใดก็ได้ภายในกำหนด 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินส่งลูกบอลให้ผู้เล่นแล้ว
11.5 ผู้ตัดสินจะส่งลูกบอลให้ผู้เล่นส่งเข้าเล่น ในกรณีที่มีการส่งบอลเข้าเล่นทุกครั้ง
11.6 จะให้ส่งลุกเข้าเล่นเมื่อผู้ป้องกันตะกร้าและผู้เล่นฝ่ายรุกมีความพร้อมที่จะเล่น จะต้องส่งลูกบอลเข้าเล่น เมื่อผู้ตัดสินส่งบอลให้หรือผู้ตัดสินเป่านกหวีดให้ส่ง ภายในเวลา 5 วินาที

กติกาข้อ 12 การยิงโทษ
จะให้ยิงโทษเมื่อ
12.1 ผู้ป้องกันตะกร้า
12.1.1 ทำการป้องกันในลักษณะที่เป็นอันตรายกับคู่ต่อสู้ (ข้อ 5.5)
12.1.2 นำลูกบอลจาสนามเล่นเข้าไปในเขตป้องกันตะกร้า (ข้อ 5.7)
12.1.3 เจตนาปัดตะกร้าถูกตัวผู้ถือตะกร้าใช้เก้าอี้หรือส่วนอื่น ๆ ของเก้าอี้เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน (ข้อ 5.9 )
12.2 ผู้เล่นอื่น ๆ ในสนาม
12.2.1 ฝ่ายป้องกันเข้าไปในเขตประตูคณะมีการยิงประตู (ข้อ 7.2.1)
12.2.2 เจตนาทำให้คู่ต่อสู้ได้รับอันตรายโดยใช้ลูกบอล (ข้อ 8.10)
12.2.3 ดึง ดัน ผลัก ชน ชก เตะคู่ต่อสู้ (ข้อ 8.13)
12.2.4 ทำผิดกติการอย่างร้ายแรงกับคู่ต่อสู้ และผู้ตัดสิน (ข้อ 8.14 )
12.2.5 การฟาวล์โดยเจตนา (ข้อ 14.1.2)
12.3 ผู้ยิงโทษต้องเป็นผู้เล่นที่กำลังอยู่ในสนาม
12.4 ต้องยิงโทษภายใน 3 วินาที หลังจากผู้ตัดสินได้ส่งบอลให้
12.5 ผู้ยิงโทษต้องไม่ให้เท้าสัมผัสเส้นโทษ
12.6 จะยิงโทษด้วยวิธีใด ๆ ก็ได้
12.7 ผู้ป้องกันตะกร้าและผู้เล่นอื่น ๆ ทั้งสองฝ่ายต้องอยู่ห่างจากผู้ยิงโทษอย่างน้อย 3 เมตร
12.8 ผู้ถือตะกร้าอยู่ขนเก้าอี้พร้อมตะกร้า จะถือตะกร้าอยู่ในลักษณะ

กติกาข้อ 13 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
13.1 จะทำการเปลี่ยนตัว ผู้ล่นได้เมื่อลูกตาย และฝ่ายที่ขอเปลี่ยนตัวเป็นครอบครองลูกบอลอยู่ หรือเมื่อมีการยิงโทษ
13.2 ผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวเข้าเล่นต้องเปลี่ยนตัวที่บริเวณเขตการเปลี่ยนตัวเท่านั้น
13.3 จะเปลี่ยนหน้าที่การเล่นได้เมื่อได้แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบขณะที่ลูกตาย
13.4 ผู้เล่นที่กระทำฟาวล์ครบ 5 ครั้ง ต้องออกจากการแข่งขัน แต่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นอื่น ๆ เข้าแทนได้
13.5 ผู้เล่นที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นอื่น ๆ เข้าแทนได้

กติกาข้อ 14 การทำฟาวล์ การบันทึกฟาวล์ การทำผิดมารยาท และการลงโทษของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ประจำทีม
14.1 การทำฟาวล์ต้องบันทึกทุกครั้ง
14.1.1 ผู้เล่นที่กระทำการฟาวล์ครบ 5 ครั้ง ต้องออกจากการแข่งขัน
14.1.2 การฟาวล์โดยเจตนา จะถูกลงโทษโดยการยิงโทษ
14.1.3 การฟาวล์ขณะยิงประตู ให้บันทึกเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง (ยิงโบนัส)
14.2 การทำผิดมารยาทของนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ประจำทีม
14.2.1 การทำผิดซ้ำ ๆ
14.2.2 การแสดงที่ไม่มีน้ำใจนักกีฬา
14.2.3 การใช้วาจาไม่สุภาพ
ให้บันทึกการฟาวล์ผู้ฝึกสอน ถ้าผู้ฝึกสอนฟาวล์ 3 ครั้งให้ออกจากการเป็นผู้ฝึกสอน และให้ลงโทษยิงประตู 1 ครั้ง และส่งบอลเข้าเล่นที่กลางสนาม
14.3 การลงโทษ 3 ขั้นตอน
14.3.1 เตือนและบันทึก
14.3.2 ยิงโทษและบันทึก
14.3.3 ให้ออกจากการแข่งและบันทึก

กติกาข้อ 15 ผู้ตัดสิน
15.1 การแข่งขันครั้งหนึ่งประกอบด้วยผู้ตัดสิน 2 คน
15.2 ผู้ตัดสินมีหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน ตั้งแต่เริ่มเล่นจนถึงสิ้นสุดการแข่งขัน
15.3 ผู้ตัดสินต้องทำการเสี่ยงเพื่อเลือกแดนต่อหน้า หัวหน้าชุดทั้งสองทีม
15.4 ขณะทำการแข่งขัน ถ้าผู้ตัดสินไม่สามารถทำการตัดสินได้ตลอดการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันสามารถจัดหาผู้ตัดสินสำรองเข้าทำหน้าที่แทนได้ หรืออาจปฏิบัติหน้าที่เพียงคนเดียวถ้าไม่สามารถหาผู้อื่นแทนได้
15.5 ผู้ตัดสินเป่านกหวีดเมื่อ
15.5.1 ลูกออก
15.5.2 มีการทำผิดกติกาทุกชนิด
15.5.3 มีการยิงประตูโทษได้ผล
15.5.4 มีการให้เวลานอก
15.5.5 หมดเวลานอก
15.5.6 เกิดการบาดเจ็บ
15.5.7 เกิดลูกยึด
15.5.8 ผู้ตัดสินขอเวลานอก
15.5.9 หมดเวลาการแข่งขัน
15.5.10 การเตือนและอื่น

กติกาข้อ 16 เจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ประกอบด้วย
16.1 ผู้บันทึก 1 คน
16.2 ผู้จับเวลา 1 คน
16.3 ผู้ใส่ป้ายคะแนน 1 คน

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส



 
เท่าที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ในครั้งนั้น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย ไม้ หนังสัตว์ ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้ หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียง “ปิก-ป๊อก” ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่า “ปิงปอง” (PINGPONG) ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน
วิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่ 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND)ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับแบบยุโรป” และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน” นั่นเอง
ในปี ค.ศ. 1900 เริ่มปรากฏว่า มีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่นกัน ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE) เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
และยุคนี้จึงเป็นยุคของนายวิตเตอร์ บาร์น่า (VICTOR BARNA) อย่างแท้จริง เป็นชาวฮังการีได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีม รวม 7 ครั้ง และประเภทชายเดี่ยว 5 ครั้ง
ในปี ค.ศ. 1929-1935 ยกเว้นปี 1931 ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (ATTRACK)
และการรับ (DEFENDIVE) ทั้งด้าน FOREHAND และ BACKHAND การ จับไม้ก็คงการจับแบบ SHAKEHAND เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป
แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป ในระยะนั้นถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง

ในปี ค.ศ. 1922 ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้กีฬานี้จึงเป็นชื่อมาเป็น “TABLE TENNIS” ไม่สามารถใช้ชื่อ
ที่เขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง และแล้วในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ
(INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1926 ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย
DR. GEORG LEHMANN แห่งประเทศเยอรมัน กรุงเบอร์ลิน เดือนมกราคม ค.ศ. 1926 ในปีนี้เองการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ก็ได้เริ่มขึ้น พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ฯ
โดยมีนายอีวอร์ มองตากู เป็นประธานคนแรก ในช่วงปี ค.ศ. 1940 นี้ ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. การจับไม้ เป็นการจับแบบจับมือ
2. ไม้ต้องติดยางเม็ด
3. วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย

ในปี ค.ศ. 1950 จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ
1. การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง
2. การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า

ในปี ค.ศ. 1952 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และต่อมาปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน
จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง

ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติม
จากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก
การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า ข้อศอก และข้อมือเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็น
ศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบ “รุกอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้ การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก
เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและ
กล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความรอบคอบอยู่มาก แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง
7 ครั้ง โดยมี 5 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959

สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ SHAKEHAND และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง

ในปี ค.ศ. 1960 เริ่มเป็นยุคของจีน ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน ในปี 1961
ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ
ครั้งที่ 26 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่าง
รวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและรับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม 3 ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับ
การศึกษาการเล่นของญี่ปุ่นทั้งภาพยนตร์ที่ได้บันทึกไว้และเอกสารต่าง ๆ โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น เข้ากับการเล่นแบบสั้น ๆ แบบที่จีนถนัดกลายเป็นวิธีการเล่นที่กลมกลืนของจีนดังที่เราเห็นในปัจจุบัน

ยุโรปเริ่มฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง นำโดยนักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ
ซึ่งมีหัวก้าวหน้าไม่มัวแต่แต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าไม่เรียนแบบของชาติอื่นๆ ดังนั้นชายยุโรปจึงเริ่มชนะชายคู่ ในปี 1967 และ 1969 ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบรับได้ฝังรากในยุโรป จนมีการพูดกันว่านักกีฬายุโรปจะเรียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นคงจะไม่มีทางสำเร็จแต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยนวิธีการเล่นแบบญี่ปุ่นได้มีผลสะท้อน
ต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของยุโรปเป็นอย่างมาก และแล้วในปี 1970 จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและผู้เล่นชาวเอเชีย

ช่วงระยะเวลาได้ผ่านไปประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ 1960-1970 นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มฉายแสงเก่งขึ้น และสามารถคว้าตำแหน่ง ชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 31 ณ กรุงนาโกน่า
ในปี 1971 โดยนักเทเบิลเทนนิส ชาวสวีเดน ชื่อ สเตลัง เบนค์สัน เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป ภายหลังจากที่นักกีฬาชาวยุโรปได้ตกอับไปถึง 18 ปี ในปี 1973 ทีมสวีเดนก็ได้คว้าแชมป์โลกได้จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ตนได้ลอกเลียนแบบและปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา ก็เริ่มแรงขึ้นก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกัน การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหมดยุคไปแล้วตั้งแต่ปี 1960 เริ่มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นมาอีก โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ การใช้ยาง ANTI – SPIเพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ในขณะนี้กีฬาเทเบิลเทนนิสนับว่าเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลกมีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทเบิลเทนนิส ต่อไป ในอนาคตได้อย่างไม่มีที่วันสิ้นสุดและขณะนี้กีฬานี้ก็ได้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก โดยเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก
กติการการเล่น เทเบิลเทนนิส
โต๊ะเทเบิลเทนนิส

1.1 พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า “พื้นผิวโต๊ะ” (PLAYING SURFACE) จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 2.74 เมตร (9 ฟุต) ความกว้าง 1.525 เมตร (5 ฟุต) และจะต้องสูงได้ระดับ โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นที่ผิวโต๊ะ สูง 76 เซนติเมตร (2 ฟุต 6 นิ้ว)
1.2 พื้นผิวโต๊ะ ไม่รวมถึงด้านข้างตามแนวตั้งที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา
1.3 พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอเมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานปล่อยลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร โดยวัดจากพื้นผิวโต๊ะลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร
1.4 พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอและเป็นสีด้าน ไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้าน จะทาด้วยสีขาว มีขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า “เส้นข้าง” (SIDE LINE) เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า “เส้นสกัด” (END LINE)
1.5 พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดน (COURTS) เท่า ๆ กัน กั้นด้วยตาข่ายซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด
1.6 สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยเส้นสีขาว มีขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้าง เรียกว่า “เส้นกลาง” (CENTER LINE) และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ดด้านขวาของโต๊ะด้วย
1.7 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล โต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับการแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น โดยโต๊ะเทเบิลเทนนิสจะมีสีเขียวหรือน้ำเงิน และในการแข่งขันจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง
ส่วนประกอบของตาข่าย

2.1 ส่วนประกอบของตาข่ายจะประกอบด้วย ตาข่าย ที่แขวนและเสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.2 ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผูกติดปลายยอดเสาซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร (6 นิ้ว)
2.3 ส่วนบนสุดของตาข่าย ตลอดแนวยาวจะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร
2.4 ส่วนล่างสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
2.5 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล ตาข่ายที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น
ลูกเทเบิลเทนนิส

3.1 ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร
3.2 ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องมีน้ำหนัก 2.7 กรัม
3.3 ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน มีสีขาว หรือสีส้ม และเป็นสีด้าน
3.4 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่ใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง
ไม้เทเบิลเทนนิส

4.1 ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้จะต้องแบนเรียบและแข็ง
4.2 อย่างน้อยที่สุด 85 % ของความหนาของไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายในหน้าไม้ ซึ่งทำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ กลาสไฟเบอร์ หรือกระดาษอัดจะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5 % ของความหนาทั้งหมดของไม้ หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า
4.3 หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับวัสดุนั้นจะเป็นแผ่นยางเม็ดธรรมดา แผ่นยางชนิดนี้ เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางชนิดสอดไส้ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ทั้งนี้ความสูงของเม็ดยางจะเท่ากับความกว้างของเม็ดยางในอัตราส่วน 1: 1
4.3.1 แผ่นยางเม็ดธรรมดา (ORDINARY PIMPLED RUBBER) จะต้องเป็นแผ่นยางชิ้นเดียวและไม่มีฟองนี้รองรับโดยหันเอาเม็ดยางออกมาด้านนอก จะทำด้วยยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ มีเม็ดยางกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และไม่มากกว่า 30 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร
4.3.2 แผ่นยางชนิดสอดไส้ (SANDWICH RUBBER) ประกอบด้วยฟองน้ำชนิดเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางธรรมดาชิ้นเดียว โดยจะหันเอาเม็ดยางอยู่ด้านในหรืออยู่ด้านนอกก็ได้ ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร
4.4 วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมหน้าไม้ด้านนั้น ๆ และจะต้องไม่เกินขอบน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุดและที่วางนิ้วอาจจะหุ้มหรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้
4.5 หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ชั้นภายในหน้าไม้ และชั้นของวัสดุปิดทับต่าง ๆ หรือกาว จะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันตลอด
4.6 หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง (BRIGHT RED) และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ (BLACK) และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอไม่สะท้อนแสง
4.7 วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของ บริษัท ผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบของหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อ ยี่ห้อและชนิด (BRAND AND TYPE) ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) ครั้งหลังสุดเท่านั้น
4.8 สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นพิษ จะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูปหรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และห้ามใช้กาวในการติดยางกับไม้เทเบิลเทนนิสในบริเวณสนามแข่งขัน
4.9 การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับ หรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาดเนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ การใช้งานหรือสีจางอาจจะอนุญาตให้ใช้ได้ โดยเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้ หรือวัสดุปิดทับ
4.10 เมื่อเริ่มการแข่งขัน และเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขัน และกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง
4.11 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามกติกา
4.12 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด
คำจำกัดความ (DEFINITIONS)

5.1 การตีโต้ (RALLY) หมายถึงระยะเวลาที่ลูกอยู่ในการเล่น
5.2 ลูกอยู่ในการเล่น (INPLAY) หมายถึง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้หยุดนิ่งบนฝ่ามืออิสระก่อนการส่งลูกในจังหวะสุดท้ายจนกระทั่งลูกนั้นถูกสั่งให้เป็นเลท หรือได้คะแนน
5.3 การส่งใหม่ (LET) หมายถึง การตีโต้ที่ไม่มีผลได้คะแนน
5.4 การได้คะแนน (POINT) หมายถึง การตีโต้ที่มีผลได้คะแนน
5.5 มือที่ถือไม้ (RACKET HAND) หมายถึง มือในขณะที่ถือไม้เทเบิลเทนนิส
5.6 มืออิสระ (FREE HAND) หมายถึง มือในขณะที่ไม่ได้ถือไม้เทเบิลเทนนิส
5.7 การตีลูก (STRIKES) หมายถึง การที่ผู้เล่นสัมผัสลูกด้วยไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถืออยู่ หรือสัมผัสลูกด้วยมือที่ถือไม้เทเบิลเทนนิสตั้งแต่ข้อมือลงไป
5.8 การขวางลูก (OBSTRUCTS) หมายถึง ขณะที่ลูกอยู่อยู่ในการเล่น หลังจากที่ฝ่ายตรงข้ามตีลูกมา โดยลูกนั้นยังไม่ได้กระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง หละยังไม่พ้นเส้นสกัด ปรากฏว่าผู้เล่นหรือสิ่งใด ๆ ที่เขาสวมใส่หรือถืออยู่สัมผัสถูกลูก ขณะลูกนั้นอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ หรือลูกนั้นมีทิศทางวิ่งเหข้าหาพื้นผิวโต๊ะ
5.9 ผู้ส่ง (SERVER) หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรกในการตีโต้
5.10 ผู้รับ (RECEIV) หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งที่สองในการตีโต้
5.11 ผู้ตัดสิน (UMPIRE) หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการแข่งขัน
5.12 ผู้ช่วยตัดสิน (ASSISTANT UMPIRE) หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยผู้ตัดสินในการแข่งขัน
5.13 สิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ หมายรวมถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ตั้งแต่เริ่มการตีโต้
5.14 ลูกเทเบิลเทนนิสจะถูกพิจารณาว่าผ่านตาข่าย ถ้าข้ามผ่านหรืออ้อม หรือลอดส่วนประกอบของตาข่าย ยกเว้นลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับพื้นผิวโต๊ะ หรือลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับอุปกรณ์ที่ยึดตาข่าย
5.15 เส้นสกัด (END LINE) หมายรวมถึง เส้นสมมติที่ลากต่อออกไปจากเส้นสกัดทั้งสองด้านด้วย
การส่งลูกที่ถูกต้อง (A GOOD SERVICE)

6.1 เมื่อเริ่มส่ง ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามืออิสระ โดยแบฝ่ามือออกและลูกจะต้องอยู่นิ่ง
6.2 ในการส่ง ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ลูกลอยขึ้นข้างบนใกล้เคียงกับเส้นตั้งฉาก และให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูกทำให้หมุนด้วยความตั้งใจ
6.3 ผู้ส่ง จะตีลูกได้ในขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสได้ลดระดับจากจุดสูงสุดแล้วเพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ สำหรับประเภทคู่ ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบครึ่งแดนขวาของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ
6.4 ตั้งแต่เริ่มส่งลูกจนหระทั่งลูกถูกตี ลูกเทบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ และอยู่หลังเส้นสกัด และจะต้องไม่ให้ถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเสื้อผ้าของผู้ส่ง หรือคู่เล่นในประเภทคู่ บังการมองเห็นของผู้รับ ขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสถูกโยนขึ้น มืออิสระของผู้ส่งจะต้องเคลื่อนออกจากบริเวณพื้นที่ระหว่างลำตัวผู้ส่งและตาข่าย (NET) (วัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ ต้องการให้ผู้รับเห็นลูกเทเบิลเทนนิสตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้ส่งหรือคู่ของผู้ส่งจะต้องไม่แสดงท่าทางที่จะต้องการบังการมองเห็นของผู้รับตลอดเวลาตั้งแต่ลูกออกจากมือของผู้ส่ง และเห็นถึงหน้าไม้ด้านที่ใช้ตีลูก)
6.5 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องส่งให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น และตรวจสอบถึงการส่งนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่
6.5.1 ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่ง ว่าผู้ส่งได้ส่งลูกถูกตามกติกาในโอกาสแตกของแมทช์เดียวกันนั้น จะแจ้งให้ส่งลูกใหม่ และเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ตัดคะแนน
6.5.2 สำหรับในครั้งต่อไปในแมทช์เดียวกันนั้น หากผู้เล่นหรือคู่เล่นยังคงส่งให้เป็นข้อสงสัยในทำนองเดียวกัน หรือในลักษณะน่าสงสัยอื่น ๆ ผู้รับจะได้คะแนนทันที
6.5.3 หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันที
6.6 ผู้ส่งอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง หากผู้ส่งคนนั้นแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงการหย่อนสมรรถภาพทางร่างกาย จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งได้ถูกต้องตามกติกา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขันทุกครั้ง
การรับลูกที่ถูกต้อง (A GOOD RETURN)

7.1 เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้ถูกส่งหรือตีโต้ไปตกลงในแดนตรงข้ามอย่างถูกต้องแล้ว ฝ่ายรับตีลูกข้ามหรืออ้อมตาข่ายกลับไป เพื่อให้ลูกกระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่งโดยตรง หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของตาข่ายแล้วตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้าม
ลำดับการเล่น (THE ORDER OF PLAY)

8.1 ประเภทเดี่ยว ฝ่ายส่งได้ส่งอย่างถูกต้อง ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไปอย่างถูกต้องหลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตีโต้
8.2 ประเภทคู่ ผู้ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้อตีลูกกลับ แล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกกลับไป จากนั้นคู่ของฝ่ายรับก็จะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันไปในการตีโต้

 
เท่าที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ในครั้งนั้น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย ไม้ หนังสัตว์ ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้ หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียง “ปิก-ป๊อก” ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่า “ปิงปอง” (PINGPONG) ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน
วิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่ 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND)ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับแบบยุโรป” และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน” นั่นเอง
ในปี ค.ศ. 1900 เริ่มปรากฏว่า มีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่นกัน ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE) เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
และยุคนี้จึงเป็นยุคของนายวิตเตอร์ บาร์น่า (VICTOR BARNA) อย่างแท้จริง เป็นชาวฮังการีได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีม รวม 7 ครั้ง และประเภทชายเดี่ยว 5 ครั้ง
ในปี ค.ศ. 1929-1935 ยกเว้นปี 1931 ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (ATTRACK)
และการรับ (DEFENDIVE) ทั้งด้าน FOREHAND และ BACKHAND การ จับไม้ก็คงการจับแบบ SHAKEHAND เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป
แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป ในระยะนั้นถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง

ในปี ค.ศ. 1922 ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้กีฬานี้จึงเป็นชื่อมาเป็น “TABLE TENNIS” ไม่สามารถใช้ชื่อ
ที่เขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง และแล้วในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ
(INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1926 ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย
DR. GEORG LEHMANN แห่งประเทศเยอรมัน กรุงเบอร์ลิน เดือนมกราคม ค.ศ. 1926 ในปีนี้เองการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ก็ได้เริ่มขึ้น พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ฯ
โดยมีนายอีวอร์ มองตากู เป็นประธานคนแรก ในช่วงปี ค.ศ. 1940 นี้ ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. การจับไม้ เป็นการจับแบบจับมือ
2. ไม้ต้องติดยางเม็ด
3. วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย

ในปี ค.ศ. 1950 จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ
1. การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง
2. การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า

ในปี ค.ศ. 1952 ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และต่อมาปี ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน
จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง

ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติม
จากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก
การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า ข้อศอก และข้อมือเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็น
ศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบ “รุกอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้ การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก
เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและ
กล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความรอบคอบอยู่มาก แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง
7 ครั้ง โดยมี 5 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959

สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ SHAKEHAND และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง

ในปี ค.ศ. 1960 เริ่มเป็นยุคของจีน ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน ในปี 1961
ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ
ครั้งที่ 26 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่าง
รวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและรับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม 3 ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับ
การศึกษาการเล่นของญี่ปุ่นทั้งภาพยนตร์ที่ได้บันทึกไว้และเอกสารต่าง ๆ โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น เข้ากับการเล่นแบบสั้น ๆ แบบที่จีนถนัดกลายเป็นวิธีการเล่นที่กลมกลืนของจีนดังที่เราเห็นในปัจจุบัน

ยุโรปเริ่มฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง นำโดยนักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ
ซึ่งมีหัวก้าวหน้าไม่มัวแต่แต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าไม่เรียนแบบของชาติอื่นๆ ดังนั้นชายยุโรปจึงเริ่มชนะชายคู่ ในปี 1967 และ 1969 ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบรับได้ฝังรากในยุโรป จนมีการพูดกันว่านักกีฬายุโรปจะเรียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นคงจะไม่มีทางสำเร็จแต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยนวิธีการเล่นแบบญี่ปุ่นได้มีผลสะท้อน
ต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของยุโรปเป็นอย่างมาก และแล้วในปี 1970 จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและผู้เล่นชาวเอเชีย

ช่วงระยะเวลาได้ผ่านไปประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ 1960-1970 นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มฉายแสงเก่งขึ้น และสามารถคว้าตำแหน่ง ชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 31 ณ กรุงนาโกน่า
ในปี 1971 โดยนักเทเบิลเทนนิส ชาวสวีเดน ชื่อ สเตลัง เบนค์สัน เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป ภายหลังจากที่นักกีฬาชาวยุโรปได้ตกอับไปถึง 18 ปี ในปี 1973 ทีมสวีเดนก็ได้คว้าแชมป์โลกได้จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ตนได้ลอกเลียนแบบและปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา ก็เริ่มแรงขึ้นก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกัน การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหมดยุคไปแล้วตั้งแต่ปี 1960 เริ่มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นมาอีก โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ การใช้ยาง ANTI – SPIเพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ในขณะนี้กีฬาเทเบิลเทนนิสนับว่าเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลกมีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทเบิลเทนนิส ต่อไป ในอนาคตได้อย่างไม่มีที่วันสิ้นสุดและขณะนี้กีฬานี้ก็ได้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก โดยเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก
กติการการเล่น เทเบิลเทนนิส
โต๊ะเทเบิลเทนนิส

1.1 พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า “พื้นผิวโต๊ะ” (PLAYING SURFACE) จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 2.74 เมตร (9 ฟุต) ความกว้าง 1.525 เมตร (5 ฟุต) และจะต้องสูงได้ระดับ โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นที่ผิวโต๊ะ สูง 76 เซนติเมตร (2 ฟุต 6 นิ้ว)
1.2 พื้นผิวโต๊ะ ไม่รวมถึงด้านข้างตามแนวตั้งที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา
1.3 พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอเมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานปล่อยลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร โดยวัดจากพื้นผิวโต๊ะลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร
1.4 พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอและเป็นสีด้าน ไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้าน จะทาด้วยสีขาว มีขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า “เส้นข้าง” (SIDE LINE) เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า “เส้นสกัด” (END LINE)
1.5 พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดน (COURTS) เท่า ๆ กัน กั้นด้วยตาข่ายซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด
1.6 สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยเส้นสีขาว มีขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้าง เรียกว่า “เส้นกลาง” (CENTER LINE) และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ดด้านขวาของโต๊ะด้วย
1.7 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล โต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับการแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น โดยโต๊ะเทเบิลเทนนิสจะมีสีเขียวหรือน้ำเงิน และในการแข่งขันจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง
ส่วนประกอบของตาข่าย

2.1 ส่วนประกอบของตาข่ายจะประกอบด้วย ตาข่าย ที่แขวนและเสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส
2.2 ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผูกติดปลายยอดเสาซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร (6 นิ้ว)
2.3 ส่วนบนสุดของตาข่าย ตลอดแนวยาวจะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร
2.4 ส่วนล่างสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
2.5 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล ตาข่ายที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น
ลูกเทเบิลเทนนิส

3.1 ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร
3.2 ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องมีน้ำหนัก 2.7 กรัม
3.3 ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน มีสีขาว หรือสีส้ม และเป็นสีด้าน
3.4 ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่ใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง
ไม้เทเบิลเทนนิส

4.1 ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้จะต้องแบนเรียบและแข็ง
4.2 อย่างน้อยที่สุด 85 % ของความหนาของไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายในหน้าไม้ ซึ่งทำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ กลาสไฟเบอร์ หรือกระดาษอัดจะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5 % ของความหนาทั้งหมดของไม้ หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า
4.3 หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับวัสดุนั้นจะเป็นแผ่นยางเม็ดธรรมดา แผ่นยางชนิดนี้ เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางชนิดสอดไส้ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ทั้งนี้ความสูงของเม็ดยางจะเท่ากับความกว้างของเม็ดยางในอัตราส่วน 1: 1
4.3.1 แผ่นยางเม็ดธรรมดา (ORDINARY PIMPLED RUBBER) จะต้องเป็นแผ่นยางชิ้นเดียวและไม่มีฟองนี้รองรับโดยหันเอาเม็ดยางออกมาด้านนอก จะทำด้วยยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ มีเม็ดยางกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และไม่มากกว่า 30 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร
4.3.2 แผ่นยางชนิดสอดไส้ (SANDWICH RUBBER) ประกอบด้วยฟองน้ำชนิดเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางธรรมดาชิ้นเดียว โดยจะหันเอาเม็ดยางอยู่ด้านในหรืออยู่ด้านนอกก็ได้ ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร
4.4 วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมหน้าไม้ด้านนั้น ๆ และจะต้องไม่เกินขอบน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุดและที่วางนิ้วอาจจะหุ้มหรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้
4.5 หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ชั้นภายในหน้าไม้ และชั้นของวัสดุปิดทับต่าง ๆ หรือกาว จะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันตลอด
4.6 หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง (BRIGHT RED) และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ (BLACK) และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอไม่สะท้อนแสง
4.7 วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของ บริษัท ผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบของหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อ ยี่ห้อและชนิด (BRAND AND TYPE) ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) ครั้งหลังสุดเท่านั้น
4.8 สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นพิษ จะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูปหรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และห้ามใช้กาวในการติดยางกับไม้เทเบิลเทนนิสในบริเวณสนามแข่งขัน
4.9 การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับ หรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาดเนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ การใช้งานหรือสีจางอาจจะอนุญาตให้ใช้ได้ โดยเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้ หรือวัสดุปิดทับ
4.10 เมื่อเริ่มการแข่งขัน และเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขัน และกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง
4.11 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามกติกา
4.12 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด
คำจำกัดความ (DEFINITIONS)

5.1 การตีโต้ (RALLY) หมายถึงระยะเวลาที่ลูกอยู่ในการเล่น
5.2 ลูกอยู่ในการเล่น (INPLAY) หมายถึง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้หยุดนิ่งบนฝ่ามืออิสระก่อนการส่งลูกในจังหวะสุดท้ายจนกระทั่งลูกนั้นถูกสั่งให้เป็นเลท หรือได้คะแนน
5.3 การส่งใหม่ (LET) หมายถึง การตีโต้ที่ไม่มีผลได้คะแนน
5.4 การได้คะแนน (POINT) หมายถึง การตีโต้ที่มีผลได้คะแนน
5.5 มือที่ถือไม้ (RACKET HAND) หมายถึง มือในขณะที่ถือไม้เทเบิลเทนนิส
5.6 มืออิสระ (FREE HAND) หมายถึง มือในขณะที่ไม่ได้ถือไม้เทเบิลเทนนิส
5.7 การตีลูก (STRIKES) หมายถึง การที่ผู้เล่นสัมผัสลูกด้วยไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถืออยู่ หรือสัมผัสลูกด้วยมือที่ถือไม้เทเบิลเทนนิสตั้งแต่ข้อมือลงไป
5.8 การขวางลูก (OBSTRUCTS) หมายถึง ขณะที่ลูกอยู่อยู่ในการเล่น หลังจากที่ฝ่ายตรงข้ามตีลูกมา โดยลูกนั้นยังไม่ได้กระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง หละยังไม่พ้นเส้นสกัด ปรากฏว่าผู้เล่นหรือสิ่งใด ๆ ที่เขาสวมใส่หรือถืออยู่สัมผัสถูกลูก ขณะลูกนั้นอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ หรือลูกนั้นมีทิศทางวิ่งเหข้าหาพื้นผิวโต๊ะ
5.9 ผู้ส่ง (SERVER) หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรกในการตีโต้
5.10 ผู้รับ (RECEIV) หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งที่สองในการตีโต้
5.11 ผู้ตัดสิน (UMPIRE) หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการแข่งขัน
5.12 ผู้ช่วยตัดสิน (ASSISTANT UMPIRE) หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยผู้ตัดสินในการแข่งขัน
5.13 สิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ หมายรวมถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ตั้งแต่เริ่มการตีโต้
5.14 ลูกเทเบิลเทนนิสจะถูกพิจารณาว่าผ่านตาข่าย ถ้าข้ามผ่านหรืออ้อม หรือลอดส่วนประกอบของตาข่าย ยกเว้นลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับพื้นผิวโต๊ะ หรือลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับอุปกรณ์ที่ยึดตาข่าย
5.15 เส้นสกัด (END LINE) หมายรวมถึง เส้นสมมติที่ลากต่อออกไปจากเส้นสกัดทั้งสองด้านด้วย
การส่งลูกที่ถูกต้อง (A GOOD SERVICE)

6.1 เมื่อเริ่มส่ง ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามืออิสระ โดยแบฝ่ามือออกและลูกจะต้องอยู่นิ่ง
6.2 ในการส่ง ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ลูกลอยขึ้นข้างบนใกล้เคียงกับเส้นตั้งฉาก และให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูกทำให้หมุนด้วยความตั้งใจ
6.3 ผู้ส่ง จะตีลูกได้ในขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสได้ลดระดับจากจุดสูงสุดแล้วเพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ สำหรับประเภทคู่ ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบครึ่งแดนขวาของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ
6.4 ตั้งแต่เริ่มส่งลูกจนหระทั่งลูกถูกตี ลูกเทบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ และอยู่หลังเส้นสกัด และจะต้องไม่ให้ถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเสื้อผ้าของผู้ส่ง หรือคู่เล่นในประเภทคู่ บังการมองเห็นของผู้รับ ขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสถูกโยนขึ้น มืออิสระของผู้ส่งจะต้องเคลื่อนออกจากบริเวณพื้นที่ระหว่างลำตัวผู้ส่งและตาข่าย (NET) (วัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ ต้องการให้ผู้รับเห็นลูกเทเบิลเทนนิสตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้ส่งหรือคู่ของผู้ส่งจะต้องไม่แสดงท่าทางที่จะต้องการบังการมองเห็นของผู้รับตลอดเวลาตั้งแต่ลูกออกจากมือของผู้ส่ง และเห็นถึงหน้าไม้ด้านที่ใช้ตีลูก)
6.5 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องส่งให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น และตรวจสอบถึงการส่งนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่
6.5.1 ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่ง ว่าผู้ส่งได้ส่งลูกถูกตามกติกาในโอกาสแตกของแมทช์เดียวกันนั้น จะแจ้งให้ส่งลูกใหม่ และเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ตัดคะแนน
6.5.2 สำหรับในครั้งต่อไปในแมทช์เดียวกันนั้น หากผู้เล่นหรือคู่เล่นยังคงส่งให้เป็นข้อสงสัยในทำนองเดียวกัน หรือในลักษณะน่าสงสัยอื่น ๆ ผู้รับจะได้คะแนนทันที
6.5.3 หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันที
6.6 ผู้ส่งอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง หากผู้ส่งคนนั้นแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงการหย่อนสมรรถภาพทางร่างกาย จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งได้ถูกต้องตามกติกา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขันทุกครั้ง
การรับลูกที่ถูกต้อง (A GOOD RETURN)

7.1 เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้ถูกส่งหรือตีโต้ไปตกลงในแดนตรงข้ามอย่างถูกต้องแล้ว ฝ่ายรับตีลูกข้ามหรืออ้อมตาข่ายกลับไป เพื่อให้ลูกกระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่งโดยตรง หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของตาข่ายแล้วตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้าม
ลำดับการเล่น (THE ORDER OF PLAY)

8.1 ประเภทเดี่ยว ฝ่ายส่งได้ส่งอย่างถูกต้อง ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไปอย่างถูกต้องหลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตีโต้
8.2 ประเภทคู่ ผู้ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้อตีลูกกลับ แล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกกลับไป จากนั้นคู่ของฝ่ายรับก็จะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันไปในการตีโต้



สนามเทเบิลเทนนิส